ทำความรู้จักฉนวนกันความร้อนและการใช้งานของฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภท

เนื่องจากปัจจุบันมีวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming เกิดกันทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะประเทศไทยที่เป็นประเทศเขตร้อน ทำให้บ้านของใครหลายคนมีอุณหภูมิสูงเมื่อถึงฤดูร้อน การติด ฉนวนกันความร้อน บนหลังคาบ้านจึงถือเป็นเรื่องสำคัญของคนไทย วันนี้ HomeTalks จึงขอพามาทำความรู้จักฉนวนกันความร้อนและการใช้งานของฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภท ตัวช่วยที่สามารถเปลี่ยนจากบ้านร้อน เป็นบ้านเย็นได้ในพริบตา !


ฉนวนกันความร้อนคืออะไร ?

ฉนวนกันความร้อน คือ วัสดุที่ใช้ป้องกันไม่ให้ความร้อนทะลุผ่านเข้ามาในบ้าน อีกทั้งยังช่วยดูดซับและป้องกันความร้อนให้สะท้อนออกไปอีกด้วย โดยฉนวนกันความร้อนมักจะติดไว้ใต้หลังคา บนฝ้า หรือในผนัง ซึ่งการติดฉนวนกันความร้อนไว้ในหลังคาจะช่วยลดความร้อนได้มากกว่าส่วนอื่น ๆ กว่า 70 % คนส่วนใหญ่จึงมักติดฉนวนกันความร้อนไว้ที่หลังคา ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีหลายแบบหลายประเภท ซึ่งมีคุณสมบัติและลักษณะที่แตกต่างกัน จะมีแบบไหนบ้าง…มาดูกัน !

รูปแบบของฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภท

ปัจจุบันหลายท่านประสบปัญหากับอากาศที่ร้อนอบอ้าวภายในบ้านเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้ฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นกันความร้อนได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ เพราะนอกจากจะสามารถกันร้อนได้แล้ว ยังช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้อีกด้วย

1.ฉนวนใยแก้ว

ฉนวนอะลูมิเนียมฟลอยด์

ฉนวนใยแก้ว (Fiberglass) เป็นฉนวนกันความร้อนที่ห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ มีความหนาแน่นสูง และสามารถทนความร้อนได้ดี เหมาะสมกับบ้านพักอาศัย กรณีใช้เป็นแผ่นฉนวนกันความร้อนไว้ที่โครงหลังคา และปูบนฝ้าเพดาน


2.ฉนวนอะลูมิเนียมฟลอยด์

ฉนวนโฟมโพลีเอธิลีน

ฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminum Foil Coated Insulation) เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีลักษณะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์  2 หน้าบาง ๆ มีความเหนียว เข้ารูปง่าย ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ โดยแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์จะทำหน้าที่ในการสะท้อนความร้อน แต่จะต้องปูติดใต้หลังคา จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด


3.ฉนวนโฟมโพลีเอธิลีน (PE)

ฉนวนโฟมโพลีสไตรีน

ฉนวนกันความร้อนโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam) หรือ ฉนวนกันความร้อน PE (PE Foam) เป็นฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นน้ำหนักเบา ผลิตจากโพลีเอทิลีนซึ่งเป็นโพลิเมอร์โครงสร้างฉนวนแข็งแรง เหนียว ทนทานต่อแรงกระแทกป้องกันความร้อนได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนาน ที่สำคัญคือมีราคาถูก สามารถนำมาใช้เป็นฉนวนใต้หลังคาเมทัลชีทได้


4.ฉนวนโฟมโพลีสไตรีน (PS)

ฉนวนโฟมโพลีสไตรีน

ฉนวนโพลีสไตรีน (Polystyrene Foam) เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีค่าสัมประสิทธิ์จึงสามารถกันได้ทั้งความร้อนและความเย็น มีน้ำหนักเบามาก ทนต่อแรงกดทับ จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในหมวดก่อสร้างมากมาย แต่ก็มีข้อเสียคือสามารถติดไฟได้ง่าย และอาจเกิดก๊าซที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเมื่อถูกเผาไหม้


5.ฉนวนโฟมโพลียูรีเทน (PU)

ฉนวนโฟมโพลียูรีเทน

ฉนวนโฟมโพลียูรีเทน (Polyurethane Foam, PU Foam) เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีทั้งแบบเป็นแผ่นและแบบพ่น สามารถยึดติดได้กับทุกพื้นผิว ป้องกันการรั่วซึมได้ดี อีกทั้งยังสามารถป้องกันได้ทั้งความร้อนและความเย็น แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ติดไฟได้ง่าย และมีราคาค่อนข้างสูง


6.ฉนวนเยื่อกระดาษ

ฉนวนเยื่อกระดาษ

ฉนวนเยื่อกระดาษ (Cellulose Fiber) เป็นฉนวนกันความร้อนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร และกันความร้อนจากหลังคาได้มากกว่า 90 % อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่ดูดซับเสียงและลดเสียงสะท้อนได้ดี มีส่วนช่วยในการชะลอการลุกลามของไฟเมื่อเกิดอัคคีภัย ส่วนข้อเสียคือไม่ทนต่อน้ำและความชื้น


เป็นอย่างไรกันบ้างกับสาระดี ๆ เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อนและรูปแบบของฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภทที่ HomeTalks นำมาฝากกัน จะเห็นได้ว่าฉนวนกันความร้อนแต่ละแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และงบประมาณของเจ้าของบ้าน สำหรับใครที่ชื่นชอบสไตล์การตกแต่งบ้าน หรือสาระเรื่องบ้านดี ๆ ก็สามารถติดตามบทความต่อไปของเราได้ที่เพจ HomeTalks-คุยเรื่องบ้าน และในเว็บไซต์ www.HomeTalks.co

Baebae

Baebae

เรียนจบถ่ายภาพแต่หลงรักการเล่าเรื่อง กำลังมองหาความสุขจากสิ่งรอบตัวในบ้าน เพราะเชื่อว่า “บ้าน” คือตัวตนของผู้อยู่

บทความถัดไป

ดินถมที่

ดินถมที่สร้างบ้านมีกี่ประเภท มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร ?

การเลือกใช้ดินถมที่ควรเลือกใช้ดินที่มาจากแหล่งธรรมชาติ ไม่ควรเลือกใช้ดินที่มีการผสมหินหรืออิฐ เพียงเ